วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน  13.30 - 17.30น.

ความรู้ที่ได้รับ

               วันนี้อาจารย์ได้ให้หน่วยต่างๆที่จับฉลากได้ตามวันให้ออกมาสอน

วันจันทร์  หน่วยไก่ 

                 สอนให้รู้ว่ามีไก่อะไรบ้างและเป็นการจำแนกประเภทของของไก่ที่ต่างกันว่าจำนวนไหนเยอะสุดโดยให้เด็กดูด้วยตาเปล่าก่อนและจึงพิสูตรโดยการนับ 1ต่อ 1


วันอังคาร  หน่วยนม

                สอนให้เด็กดูความแตกต่างของนมถั่วเหลือง นมช็อคโกแลต ดูลักษณะของนม ดูสี ดมกลิ่นและชิมรสชาติและแยกความเหมือนและความต่างของนมถั่วเหลืองและนมช็อคโกแลต




วันพุธ  หน่วยข้าว,หน่วยส้ม

หน่วยข้าว

                  สอนทำน้ำหมักเป็นรูปแบบการแปรรูป
 


หน่วยส้ม
                         เป็นการถนอมอาหารโดยน้ำส้มสดและส้มเชื่อมมาให้เด็กๆได้ชิมว่าอันไหนอร่อยกว่ากันและยังมีการสอนทำ"ขวดบ้าพลัง"



วันพฤหัสบดี หน่วยกล้วย

                             เป็นการสอนประโยชน์และโทษของกล้วย โดยการเล่านิทานและถามถึงประโยชน์และโทษของกล้วย


วันศุกร์ หน่วยน้ำ

                        เป็นการทำ cooking น้ำอัญชัน โดยให้แบ่งเป็น 4 ฐาน


การประยุกต์ใช้

              สามารถนำการสอบที่เพื่อนๆได้ออกไปสอนนำไปใช้ในอนาคตเมื่อเป็นครูได้และสามารถประยุกต์ให้กับหน่วยอื่นๆได้

ประเมินอาจารย์

                   อาจารย์แนะนำขั้นตอนการสอนที่เราทำไม่ถูกและแนะนำวิธีที่ดีให้เรานำมาปรับปรุงแก้ไข

ประเมินเพื่อน 

                   เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกันเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง

                  วันนี้ดิฉันไม่ได้สอนแต่ก็คอยช่วยเพื่อนที่สอนบ้าง และตั้งใจให้ความร่วมมือกับเพื่อนกลุ่มอื่น


การบันทึกครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

                    ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มหน่วยเริ่มเขียนแผนการสอนตามวัน

                หน่วย "นม" 
               กษมา เลือกวันจันทร์ ประเภทของนม
               ปรีชญา เลื่อกวันอังคาร ลักษณะของนม
               วนิดา  เลือกวันพุธ การถนอมของนม
               ศิริพร  เลือกวันพฤหัสบดี ประโยชน์ของนม
               มาณิศา  เลือกวันศุกร์  ทำ cooking จากนม และโทษของนม






ดิฉันได้วันจันทร์ ประเภทของนม

ขั้นนำ       1.พาเด็กท่องคำคล้องจอง
                2.ครูถามเด็กว่าในคำคล้องจองมีนมชนิดใดบ้าง
                3.นอกจากในคำคล้องจองเด็กๆยังรู้จักนมชนิดใดอีกบ้าง
ขั้นสอน    1.น้ำตระกร้าที่ปิดผ้ามาถามเด็กๆว่าในตระกร้านี้จะมีนมอะไรบ้าง
                2.หยิบนมขึ้นมาทีละกล่องแล้วถามเด็กว่านี่คือนมอะไร และย้ำคำตอบที่ถูกให้กับเด็ก
                3.เมื่อนำออกมาจนครบแล้วให้เด็กๆช่วยกันนับ พร้อมส่งตัวแทนมาเอาเลขไปติดกำกับไว้
                4.ครูให้เด็กแยกประเภทของนมแต่ละชนิด โดยครูหยิบเป็นตัวอย่างหลังจากนั้นให้เด็กออกมาหยิบทีละคนจนหมด
                5.ครูถามว่านมชนิดใดมีมากกว่ากัน
                6.ครูพาเด็กพิสูจน์โดยการนับ 1 ต่อ 1 โดยให้เด็กออกมาหยิบทีละชิ้นจนเหลือนมชนิดเดียวที่ยังเหลืออยู่
ขั้นสรุป    1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่านนที่เหลือชนิดสุดท้ายคือนมที่มีจำนวนมากที่สุด
                2.ครูถามเด็กๆว่าวันนี้เด็กๆได้รู้จักนมชนิดใดบ้าง 

หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาจับฉลากว่าใครจะเป็นตัวแทนกลุ่มออกมาสอน

                วันจันทร์     กลุ่มไก่
                วันอังคาร    กลุ่มนม
                วันพุธ         กลุ่มข้าวกับกลุ่มส้ม
                วันพฤหัส    กลุ่มกล้วย
                วันศุกร์        กลุ่มน้ำ

การประยุกต์ใช้

                นำแผนที่เราเขียนที่จะสอนประจำวันของตัวเองมาสอนในอนาคตได้และสามารถประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆในการเขียนแผนได้

ประเมินอาจารย์ 

                 อาจารย์อธิบายวิธีการสอนของแต่ละวันอย่างละเอียด 

ประเมินเพื่อน 

                เพื่อนทุกคนตั้งใจเขียนแผนคนที่เข้าใจแล้วก็มาช่วยบอกเพื่อนให้เข้าใจ

ประเมินตนเอง 

                ถามเพื่อนในส่วนที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆของการสอน



               

การบันทึกครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.


ในสัปดาห์นี้นักศึกษากลุ่ม 102 อังคารบ่ายได้ไปทำกิจกรรมต้อนรับคณะผู้มาเยี่ยมชมงานคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย 


การบันทึกครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 1 พฤษจิกายน 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ 
             อาจารย์ได้ให้กลุ่มทำวีดีโอของเล่นวิทยาศาสตร์ให้เอาคลิปที่แต่ละกลุ่มทำมาเปิดให้ดู มีทั้งหมด  4 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 พลังปริศนา
https://www.youtube.com/watch?v=Go9zrFhikS8

กลุ่มที่ 2 ขวดปริศนา
https://www.youtube.com/watch?v=7jU51MATe8g

กลุ่มที่ 3 รถแกนหลอดด้าย
https://www.youtube.com/watch?v=QwkwdmlMres

กลุ่มที่ 4  ลูกข่างนักสือบ
https://www.youtube.com/watch?v=8iXxHIRi72I&t=52s


        สิ่งที่ต้องปรับปรุงในคลิปวีดีโอ - ใส่ตัวหนังสือ ตัวเลข ขั้นตอนการทำ
หลังจากนั้นอาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มตามกลุ่มที่จับทำมายแมบ และส่วนหน่วยการเรียนรู้วิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสต์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ศิลปะ สังคม สุขศึกษา(พละศึกษา)อาจารย์ได้ยกตัวอย่างและอธิบายให้ฟังและให้พวกเราลงมือเขียนมายแมบ







การประยุกต์ใช้

            สามารถนำหน่วยที่เราสนใจไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยขน์ต่อวิชาต่างๆได้ 
ในส่วนของวีดีโอสามารถนำเอาไปสอนในห้องเรียนได้

ประเมินอาจารย์

            อาจารย์บอกข้อปกพร่องในการทำคลิปวีดีโอว่าควรปรับปรุงแก้ไขตรงไหน ในส่วนของมายแมบอาจารย์ได้ยกตัวอย่างได้ละเอียด

ประเมินเพื่อน 

            เพื่อนแต่ละกลุ่มตั้งใจทำงาน ช่วยกันระดมความคิดในงานของกลุ่มตัวเอง

ประเมินตนเอง

              ช่วยเพื่อนคิดและเสนอสื่งที่เราคิดให้กับเพื่อน ฟังและจดบันทึกที่อาจารย์บอก

                              

การบันทึกครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
                     อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมาเสนอมายแมบที่ให้เอากลับไปแก้ไขให้ถูกต้อง
   
              กลุ่มที่ 1 ส้ม

             กลุ่มที่ 2 ไก่


            กลุ่มที่ 3 ข้าว


              กลุ่มที่ 4 กล้วย


             กลุ่มที่ 5 น้ำ


              กลุ่มที่ 6 นม


               หลังจากนั้นเป็นการเรียน 8 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์เพื่อดูว่าหน่วยของแต่ละกลุ่มนั้นสามารถนำสาระทั้ง8 มาประยุกต์ใช้ได้หรือไม่แต่สามารถเลือกมาใช้เพียงบางกลุ่มได้ไม่ต้องนำมาใช้ทั้งหมด


การประยุกต์ใช้

               นำมาเขียนมายแมบเพื่อนำไปสอนเด็กในแต่ละวันได้ หลักการการเขียนที่ถูกต้องและเราจะนำไปสอนอย่างไรให้ตรงกับสาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

ประเมินอาจารย์ 

               อาจารย์แนะนำมายแมบที่ต้องเขียนให้ถูกวิธีสอนสาระวิทยาศาสตร์อธิบายให้เข้าใจ

ประเมินเพื่อน

              เพื่อนทุกคนตั้งใจฟัง และคอยจดบันทึกข้อแนะนำต่างๆที่อาจารย์บอก

ประเมินตนเอง

              จดบันทึกข้อเสนอแนะที่อาจารย์บอกและปรึกษากับเพื่อนในกลุ่ม

การบันทึกครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

                   ต้นคาบอาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนอของเล่นงานกลุ่ม เช่น
                     - นาฬิกาทราย                              - วงโคจรของโลก
                     - ลวดเต้นระบำ                             - ทวินเพลน
                     - กล่องสุริยจักรวาล                      - โรงละคนผีเสื้อเริงระบำ
                     - รางหรรษา                                  -  ไข่หรรษา
                     - ภาพใต้น้ำ




หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คนทำมายแมบปิ้งสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กมีหัวข้อดังนี้
               1.ประเภท แบ่งเกณฑ์ ชนิด บอกชื่อ
               2.ลักษณะ เช่น สี กลิ่น รส  รูปร่าง ลักษณะ ส่วนประกอบ
               3.การดูแลรักษา  การถนอม   การดำรงชีวิต
               4.ประโยชน์ เช่น สร้างรายได้  สร้างอาชีพ
               5.ข้อควรระวัง  โทษ

แบ่งกลุ่มได้ทั้งหมด 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีหัวข้อดังนี้
          - กล้วย
          - น้ำ
          - ส้ม 
          - นม
          - ไข่
          - ขาว




 หลังจากนั้นอาจารย์ได้สรุปการเขียนมายแมบให้ว่าถูกต้องตามหลักหรือไม่




การประยุกต์ใช้

             เป็นการหาหน่วยไปสอนเด็กแต่ต้องเลือกตามสิ่งที่เด็กต้องการจะศึกษาเป็นการบูรณาการที่ต้องเชื่อมโยงและสอดคล้องกับหน่วยที่เลือกมา

 ประเมินอาจารย์ 

                      อาจารย์จะแนะนำการเขียนมายแมบที่ถูกต้องว่าต้องวนจากขวามาซ้าย และอาจารย์จะดูเนื้อหาว่าถูกต้องหรือไม่

ประเมินเพื่อน

                  เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ช่วยกันทำมายแมบอย่างเต็มที่ 

ประเมินตนเอง

                 วันนี้ตั้งใจเรียน ช่วยเพื่อนคิดเนื้อหาให้สอดคล้องกับหัวข้อที่อาจารย์ให้มา 

การบันทึกครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

  ตอนต้นคาบอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำลำดับขั้นตอน STEM


  หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มเลือกของเล่นที่เราเคยทำมากลุ่มละ 1 อย่าง แต่ของเล่นต้องทำได้ง่ายเด็กสามารถทำตามได้ และถ่ายเป็นวีดีโอเพื่อเป็นสื่อการสอนลงในยูทูป


 


ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำ "ลูกข่างนักสืบ"
          เป็นการทำลุกข่างจากแผ่นซีดีและลูกปิงปอง
จากนั้นอาจารย์ได้ให้ออกไปนำเสนองาน

 

กลุ่มที่ 1 ลูกข่างนักสืบ


กลุมที่ 2 ปืนลม


กลุ่มที่ 3 แผ่นซีดีเป่าลอย


กลุ่มที่ 4 รถหลอดด้าย

การประยุกต์ใช้

              สามารถนำสื่อชองเล่นที่เราถ่ายเป็นวีดีโอนำไปเปิดเป็นตัวอย่างในการสอนเด็กได้และของเล่นของกลุ่มดิฉันทำให้เด็กรู้จักแสงสีขาว  รู้วิธีการทำ

ประเมินอาจารย์

             อาจารย์จะคอยแนะนำส่วนที่เราบกพร่อง แนะนำเคล็ดลับในการนำไปสอนเด็ก 

ประเมินเพื่อน

             เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนองานได้ดี คอยจดเมื่ออาจารย์แนะนำว่าควรแก้ไขตรงไหน

ประเมินตนเอง

            มีช่วยเพื่อนคิดและคอยจดเมื่ออาจารย์แนะนำให้ทำอะไรเพิ่มเติมบ้าง