วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7
อังคารที่ 20 กันยายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น

ความรู้ที่ได้รับ


    ในต้นคาบอาจารย์ได้ให้คัดลายมือ ก-ฮ แบบหัวกลมตัวเหลี่ยม


หลังจากที่คัดเสร็จแล้วอาจารย์ให้ออกไปเอากระดาษA4 และปากกาเมจิก เพื่อเอามาว่ารูปมือของเรา
หลังจากวาดเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้ขีดเส้นตัดกับรูปมือที่วาดไว้ หลังจากตัดเส้นแรกเสร็จแล้วให้เอาอีกสีมาตัดเส้นแบบเดิมอีกแต่ขีดให้ใกล้ๆกัน


   ที่อาจารย์ให้ทำแบบนี้เพราะจะทำให้รูปมือที่เราวาดดูมีมิติดูนูนออกมา
หลังจากนั้นอาจารย์ได้เอาตัวอย่างของเล่นมาให้ดู

                         

เมื่อหมุนเราจะเห็นสองรูปนี้รวมกัน

                         

เมื่อหมุนอันนี้เร็วๆแล้วรูปสองอันนี้จะรวมกันเป็นธงชาติของเกาหลี
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ออกมานำเสนอของเล่นอีกครั้ง แต่คราวนี้เป็นการสรุปของเล่นในเรื่องต่างๆ
 - แรงหนีศูนย์กลางและมีเรื่องแรงพยุง
 - จุดศุนย์ถ่วง
 - ความหนาแน่น
 - แรงยืดหยุ่น
 - อากาศมีแรงดันทำให้วัตุเคลื่อนที่ อากาศมีแรงดันเมื่อเป่า
 - การเดินทางของเสียงเกิดจากแรงเสียดสีทำให้เกิดการสะท้อน พอวัตถุกระทบกันแล้วเกิดการสั่นสะเทือน
 - การดีด
จากนั้นอาจารย์ได้ทำการทดลองให้ดูโดยขอตัวแทน2คนมาช่วยอาจารย์ 
การทดลองที่ 1


ในการทดลองครั้งนี้อาจารย์ให้ดูระดับน้ำในสายยางว่าเท่ากันหรือไม่ถ้ายกข้างใดข้างหนึ่งสูงกว่าสรุปแล้วน้ำในสายยางเมื่อยกข้างนึกสูงกว่าระดับน้ำในสายยางก้จะเท่ากันเพราะน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู้ที่ต่ำเพื่อให้เกิดความสมดุล
 การทดลองที่ 2 น้ำพุ น้ำจะไหลจากที่สูงมายังที่ต่ำ เมือเราเอาตัวฐานน้ำพุลงมาว่าไว้ต่ำเท่าไร น้ำก็จะยิ่งพุงแรงมากขึ้น

                             

การทดลองที่ 3 ดอกไม้ลอยน้ำ
 อาจารย์ให้นำกระดาษ A4 ตัดแบ่งเป็น4ส่วนและแบ่งให้เพื่อน หลังจากนั้นให้และตัดเป็นรูปดอกไม้แล้วเอาสีมาระบายตรงกลางและก็พับดอก4ด้านเข้าหากัน หลังจากนั้นอาจารย์ให้น้ำดอกไม้ที่เราทำไปลอยน้ำและให้สังเกตว่ามีผลอย่างไร
เมื่อเอาไปลอยน้ำดอกไม้ที่เราพับไว้ก็จะค่อยๆบานออกเพราะเมื่อกระดาษถูกน้ำ น้ำเข้าไปแซกตัวอยู่ในกระดาษจนกระดาษจม เมื่อเราหยิบขึ้นมาเราก็จะเห็นมาสีจะไหลไปตามน้ำ
หลังจากนั้นอาจารย์ให้ออกไปพูดถึงงานกลุ่มว่าเราจะทำของเล่นอะไร

การประยุกต์ใช้

- เราสามารถนนำการวาดมือให้ดูมีมิติไปสอนเด็กเพื่อให้เด็กมีความสนใจมากขึ้น สามารถนำการทดลองต่างๆไปใช้ในการสอนในอนาคตเมื่อเด็กได้ลงมือปฎิบัติเด็กก็จะเกิดการเรียนรู้มากขึ้นและเด็กก็จะสนุกไปกับการทดลอง

ประเมินผู้สอน

 - อาจารย์มีตัวอย่างผลงานคอยเอามาให้ดูเสมอ และอาจารย์ยังคอยหากิจกรรมใหม่ๆมาให้เราได้เรียนรู้เรื่อยๆ

ประเมินตนเอง

 - วันนี้ตั้งใจเรียน มีงานมาส่งอาจารย์ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์จัดให้

ประเมินเพื่อน

 - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับอาจารย์เป็นอย่างดีทุกคนตั้งใจเรียนเตรียมของมานำเสนอกันทุกคน

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 6 วันองคารที่ 13 กันยายน 2559เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น


ในวันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียนเนื่องจากไม่สบาย

การบันทึกครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 6 กันยายน 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น

ความรู้ที่ได้รับ

  วันนี้อาจาย์ให้ดูวีดีโอเรื่องอากาศมหัศจรรย์
        อากาศคือสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ลืมคืออากาศที่เคลื่อนที่  อากาศมีน้ำหนักที่ต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพบริเวณนั้นๆ ถ้าอากาศร้อนน้ำหนักจะเบากว่าอากาศเย็น 
     การทดลอง
         เอากระดาษไปปิดไว้ที่ปากแก้วน้ำแล้วคว่ำลงกระดาษจะไม่ล่วงลงมาจนกว่าน้ำจะแซกเข้าไปในกระดาษจนกระดาษจะรับน้ำหนักไม่ไหม
         เทน้ำใส่ขวดโดยเอากรวยใส่ไว้ที่ปากขวดน้ำ  น้ำจะไหลลงไปในขวดได้ดีแต่เมื่อเอาดินน้ำมันมาติดที่ปากขวด น้ำก็จะไหลลงไปในขวดได้ช้าเพราะอากาศจะดันตัวออกจากขวดเมื่อน้ำเขามาแทนที่

หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ออกไปนำเสนอของเล่นที่ทุกคนเตรียมมา
        ดิฉันนำเสนอลูกยางกระดาษ


การประยุกต์ใช้

 - สามารถนำการทดลองจากในคลิปวีดีโอไปสอนเด็กๆในอนาคตได้ และสามารถประยุกต์ของเล่นที่เพื่อนทำนำไปสอนในอนาคต เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดของเพื่อนๆ

ประเมินอาจารย์

 - อาจารย์หาวีดีโอมาเปิดให้ดูเพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับอากาศมากขึ้น  และอาจารย์คอยแนะนำถึงของเล่นที่เราทำมาว่าเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทางใด

ประเมินตนเอง 

- ตอนดูวีดีโอก็มีง่วงบ้าง แต่ก็ไม่หลับ เตรียมของเล่นมานำเสนองาน

ประเมินเพื่อน

- เพื่อนตั้งใจดูวีดีโอกันทุกคน และเพื่อนเกือบทุกคนก็เตรียมของเล่นมานำเสนอกันแทบทุกคน


ของเล่นวิทยาศาสตร์

ลูกยางกระดาษ



อุปกรณ์
 1.กระดาษ
 2.คลิปหนีบกระดาษ
 3.กรรไกร 
 4.ไม้บรรทัด

วิธีทำ
1.ตัดกระดาษขนาด 2x8 นิ้ว 


2.ขีดเส้นตามรูปข้างล่าง

3.ตัดตามเส้นทึบ และพับตามเส้นประ
4.ส่วนปลายเล็กๆให้นำคลิปหนีบกระดาษมาหนีบไว้


เนื้อทางวิทยาศาสตร์ของลูกยางกระดาษ 
    -ลูกยางกระดาษสอนเรื่องแรงต้าน และจุดศูนย์ถ่วง เมื่อลูกยางตกตามแรงโน้มถ่วงของโลกปีกของลูกยางกระดาษจะถูกต้านจากอากาศที่อยู่รอบๆให้ตกลงสู่พื้นช้า และที่ลูกยางกระดาษหมุนเพราะมีจุดถ่วยเลยทำให้ลูกยางกระดาษหมุน

งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559
National Science and Technology Fair Thailand
วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ
  ในวันนี้ดิฉันได้ไปดูงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(National Science and Technology Fair Thailand) ที่อิมแพคเมืองทองธานี ได้ความรู้วิทยาศาสตร์มากมาย อาทิ โลกดาราศาสตร์ เรื่องหวานซ่อนโรค  ถั่วต่างๆ นวัตกรรมรถยนต์ วัตถจักรยุง เรื่องไข่  เรื่องการสื่อสาร  









kidzone  ในโซนนี้จะมีกิจกรรมต่างๆให้เด็กๆเล่นมากมาย ทั้งเลโก้ ตัวต่ออันใหญ่  โมเดลเลโก้ที่ต่อเป็นรูปต่างๆและยังมีเนื้อหาให้สำหรับผู้ปกครองและเด็กๆได้อ่านเรื่องการสื่อสาร
  





โซนหวานซ่อนโรค ข้างในจะมีพี่ๆคอยบรรยายว่า น้ำตาลคืออะไร น้ำตาลเป็นโมเลกุลเดี่ยว ผลดีผลเสียของน้ำตาล จะมีผลไม้ น้ำอัดลม ขนมหวาน จำลองและเขียนบอกปริมาณน้ำตาลในอาหารแต่ละอย่าง




- ในการไปงานครั้งนี้ทำให้รู้เรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มากมายที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กและนำมาเป็นความรู้ใช้ในการเรียนการทำงาน

การบันทึกครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น

ความรู้ที่ได้รับ

  ต้นคาบวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาคัดไทยตามเส้นปะแบบหัวกลมตัวเหลี่ยม


หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มกลุ่มละ5คนและอาจารย์ก็แจกกระดาษ1แผ่นและคลิปหนีบกระดาษให้แต่ละกลุ่มเพื่อให้แต่ละกลุ่มคิดของเล่นวิทยาศาสตร์เรื่องอากาศจากของที่ให้ไปโดยแต่ละกลุ่มห้ามซ้ำกัน

โดยกลุ่มดิฉันทำกังหันลม
วิธีทำ 1.ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
2.ตัดกระดาษ4มุมโดยตัดลึกประมาณ3ส่วน4
3.จากนั้นก็พับมุมกระดาษสลับกันจนเป็นกังหัน
4.ใช้คลิปหนีบกระดาษดัดให้ตรงและเจาะตรงกลางและยึดมุมแต่ละด้านเข้าหากัน
5.ใช้ยางลบยึดด้านหน้าและหลังเพื่อไม่ให้กังหันหลุด







หลังจากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ
   กลุ่มที่ 1 ทำสื่อที่เป็นนิทานเล่าเรื่องเกี่ยวกับอากาศและฝน
   กลุ่มที่ 2 ใช้พัดเป็นสื่อการสอน
   กลุ่มที่ 3 ทำกังหันลม
   กลุ่มที่ 4 ปล่อยกระดาษกับคลิปหนีบกระดาษพร้อมกันให้ดูว่าอันไหนตกก่อนกัน
   กลุ่มที่ 5 ทำสื่อสภาพอากาศต่างๆ
   กลุ่มที่ 6 พับเรื่อเป็นสื่อ
หลังจากนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็นำถุงพลาสติกมาสะบัดๆให้ลมเข้าไปแล้วอาจารย์ก็เอามือกำปากถุง ทำให้ถุงป่อง อาจารย์บอกว่าอากาศมีตัวตนแต่ไม่สามารถมองเห็นได้ และอากาศต้องการมีที่อยู่

การประยุกต์ใช้

-สามารถนำเอาของเล่นของเพื่อนๆนำเอาไปสอนเด็กๆในอนาคตได้ นำคำอธิบายของอาจารย์มาประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ของเล่นต่างๆไปสอนเด็ก เราสามารถนำสิ่งของรอบตัวเรานำมาสอนวิทยาศาสตร์ได้ตลอด

ประเมินผู้สอน

- อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคัดไทยเพื่ออนาคตจะได้เขียนสวยๆ อาจารย์อธิบายละเอียดเกี่ยวกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ของของเล่นแต่ละชนิด

ประเมินตนเอง
 - วันนี้ดิฉันได้ช่วยเพื่อนในกลุ่มทำกังหันลม

ประเมินเพื่อน

 - เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานของแต่ละกลุ่มอย่างดี 



การบันทึกครั้งที่ 2
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.00 น

ความรู้ที่ได้รับ

     ในวันนี้อาจารย์ให้สรุปเนื้อหาจากในชีท เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย,คุณลักษณะตามวัย,พัฒนาการทั้ง4ด้าน
ช่วงอายุ 3-5 ปี ทฤษฎีการเรียนรู้,หลักแนวคิดสู่การปฎิบัติ







การประยุกต์ใช้

 - นำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการสอนเด็ก การจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน พัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ดีขึ้น

การประเมินผู้สอน

 - ในครั้งนี้อาจารย์ไม่ได้เข้าสอนเพราะติดธุระจึงมอบหมายงานไว้ให้ทำ

ประเมินตนเอง

 - ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้เสร็จ

ประเมินเพื่อน 

 - เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงานกันทุกคน


วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 1

ชดเชยครั้งที่ 1 ของวันที่ 9 สิงหาคม 2559
ในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ

              วันนี้อาจารย์ได้พูดเรื่องการทำบล็อก ชื่อภาษาอังกฤษ โปรไฟล์ภาษาอังกฤษ บล็อกอาจาร์ผู้สอน หน่วยงานที่สนับสนุน งานวิจัยวิทยาศาสตร์ บทความ สื่อ เช่น นิทาน เพลง เกม แบบฝึกหัด การบันทึกก็จะมีหัวข้อ  ความรู้ที่ได้รับ การประยุกต์ใช้ การประเมิน

ชดเชยครั้งที่ 2 ของวันที่ 16 สิงหาคม 2559
ในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2559

ความรู้ที่ได้รับ

    เรื่องโรคดาราศาสตร์สิ่งรอบตัว
1.เนื้อหา - ธรรมชาติ,สิ่งต่างๆ,บุคคลและสถานที่,ตัวเด็ก,เรื่องใกล้ตัวเด็ก มีผลกระทบต่อเด็ก
2.วิธีการ - ตั้งสมมุติฐาน ,สังเกต,ทดลอง,สำรวจ,วิเคราะห์ขอบข่ายปัญหา,สรุป
    สรุปวิทยาศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ คือ การสืบค้นหาความจริง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การทดลอง การใช้เหตุผล การสำรวจ การแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์ การสรุป เป็นต้น เพื่อให้ได้ความรู้และข้อเท็จจริงในเรื่องวิทยาศาสตร์
                   แนวคิดพื้นฐาน          1.การเปลี่ยนแปลง
                                                     2.การปรับตัว
                                                     3.แตกต่าง
                                                     4.พึ่งพาอาศัย
                                                     5.ความสมดุล
การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
เครื่องมือในการเรียนรู้ => ภาษา,คณิตศาสตร์
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ =>อยากรู้อยากเห็น,ละเอียดรอบครอบ,มีความซื่อสัตย์,มีความเชื่อ,มีใจกว้าง
ความสำคัญวิทยาศาสตร์ =>ตอบสนองต่อการดำรงชีวิต,สะดวกสบาย,สร้าเสริมประสบการณ์
ประโยชน์ =>ทำให้เชื่อมั่นในตนเอง
เด็กปฐมวัย เด็กตั้งแต่แรกเกิด-5ปี 11 เดือน 29 วัน โดยมีพัฒนาการทั้ง4ด้าน
 - อายุ
 - ความอยากรู้อยากเห็น การลอกเรียนแบบ (เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนจากพัฒนาการ)
 - พัฒนาการ บ่งบอกถึงความสามารถของเด็กแต่ละวัย
ประโยชน์ ออกแบบให้สอดคล้องกับพัฒนาการ
    พื้นฐานพัฒนาการมาจากการทำงานของสมอง
   ช่วงอายุ แรกเกิด-2ปี => ร้อง,กิน,นอน,ถ่าย
                  2-4ปี => พูดได้เป็นคำๆ
  - การเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก(เล่นอิสระ) เล่นเครื่องเล่น เล่นมุมบล็อก
  - การลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยที่ครูวางแผนไว้ให้(ครูจัดเตรียมไว้ให้)
  



การประยุกต์ใช้

 - ใช้ในการทำงานเราต้องคิดวิเคราะห์ เพื่อหาข้อมูลมาสรุปทำงานและสามารถใช้ในการหาข้อมูลมาสอนเด็กๆและหากิจกรรมที่ทำให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์  สังเกต 

การประเมินผู้สอน

-อาจารย์อธิบายเนื้อได้ละเอียด คอยตั้งคำถามให้นักศึกษาคอยตอบเมื่อนักศึกษาตอบอาจารย์ก็จะอธิบายเพิ่มเติม

ประเมินตัวเอง

-ในวันนี้เป็นการเรียนวันแรก ดิฉันตั้งใจฟังมีบางครั้งที่พูดคุยกับเพื่อนบ้าง และมีการจดบันทึกแต่บางครั้งก็จดไม่ทัน

ประเมินเพื่อน

-เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนดี ร่วมมือกันตอบคำถาม ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย