วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน  13.30 - 17.30น.

ความรู้ที่ได้รับ

               วันนี้อาจารย์ได้ให้หน่วยต่างๆที่จับฉลากได้ตามวันให้ออกมาสอน

วันจันทร์  หน่วยไก่ 

                 สอนให้รู้ว่ามีไก่อะไรบ้างและเป็นการจำแนกประเภทของของไก่ที่ต่างกันว่าจำนวนไหนเยอะสุดโดยให้เด็กดูด้วยตาเปล่าก่อนและจึงพิสูตรโดยการนับ 1ต่อ 1


วันอังคาร  หน่วยนม

                สอนให้เด็กดูความแตกต่างของนมถั่วเหลือง นมช็อคโกแลต ดูลักษณะของนม ดูสี ดมกลิ่นและชิมรสชาติและแยกความเหมือนและความต่างของนมถั่วเหลืองและนมช็อคโกแลต




วันพุธ  หน่วยข้าว,หน่วยส้ม

หน่วยข้าว

                  สอนทำน้ำหมักเป็นรูปแบบการแปรรูป
 


หน่วยส้ม
                         เป็นการถนอมอาหารโดยน้ำส้มสดและส้มเชื่อมมาให้เด็กๆได้ชิมว่าอันไหนอร่อยกว่ากันและยังมีการสอนทำ"ขวดบ้าพลัง"



วันพฤหัสบดี หน่วยกล้วย

                             เป็นการสอนประโยชน์และโทษของกล้วย โดยการเล่านิทานและถามถึงประโยชน์และโทษของกล้วย


วันศุกร์ หน่วยน้ำ

                        เป็นการทำ cooking น้ำอัญชัน โดยให้แบ่งเป็น 4 ฐาน


การประยุกต์ใช้

              สามารถนำการสอบที่เพื่อนๆได้ออกไปสอนนำไปใช้ในอนาคตเมื่อเป็นครูได้และสามารถประยุกต์ให้กับหน่วยอื่นๆได้

ประเมินอาจารย์

                   อาจารย์แนะนำขั้นตอนการสอนที่เราทำไม่ถูกและแนะนำวิธีที่ดีให้เรานำมาปรับปรุงแก้ไข

ประเมินเพื่อน 

                   เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกันเป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง

                  วันนี้ดิฉันไม่ได้สอนแต่ก็คอยช่วยเพื่อนที่สอนบ้าง และตั้งใจให้ความร่วมมือกับเพื่อนกลุ่มอื่น


การบันทึกครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

                    ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มหน่วยเริ่มเขียนแผนการสอนตามวัน

                หน่วย "นม" 
               กษมา เลือกวันจันทร์ ประเภทของนม
               ปรีชญา เลื่อกวันอังคาร ลักษณะของนม
               วนิดา  เลือกวันพุธ การถนอมของนม
               ศิริพร  เลือกวันพฤหัสบดี ประโยชน์ของนม
               มาณิศา  เลือกวันศุกร์  ทำ cooking จากนม และโทษของนม






ดิฉันได้วันจันทร์ ประเภทของนม

ขั้นนำ       1.พาเด็กท่องคำคล้องจอง
                2.ครูถามเด็กว่าในคำคล้องจองมีนมชนิดใดบ้าง
                3.นอกจากในคำคล้องจองเด็กๆยังรู้จักนมชนิดใดอีกบ้าง
ขั้นสอน    1.น้ำตระกร้าที่ปิดผ้ามาถามเด็กๆว่าในตระกร้านี้จะมีนมอะไรบ้าง
                2.หยิบนมขึ้นมาทีละกล่องแล้วถามเด็กว่านี่คือนมอะไร และย้ำคำตอบที่ถูกให้กับเด็ก
                3.เมื่อนำออกมาจนครบแล้วให้เด็กๆช่วยกันนับ พร้อมส่งตัวแทนมาเอาเลขไปติดกำกับไว้
                4.ครูให้เด็กแยกประเภทของนมแต่ละชนิด โดยครูหยิบเป็นตัวอย่างหลังจากนั้นให้เด็กออกมาหยิบทีละคนจนหมด
                5.ครูถามว่านมชนิดใดมีมากกว่ากัน
                6.ครูพาเด็กพิสูจน์โดยการนับ 1 ต่อ 1 โดยให้เด็กออกมาหยิบทีละชิ้นจนเหลือนมชนิดเดียวที่ยังเหลืออยู่
ขั้นสรุป    1.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่านนที่เหลือชนิดสุดท้ายคือนมที่มีจำนวนมากที่สุด
                2.ครูถามเด็กๆว่าวันนี้เด็กๆได้รู้จักนมชนิดใดบ้าง 

หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาจับฉลากว่าใครจะเป็นตัวแทนกลุ่มออกมาสอน

                วันจันทร์     กลุ่มไก่
                วันอังคาร    กลุ่มนม
                วันพุธ         กลุ่มข้าวกับกลุ่มส้ม
                วันพฤหัส    กลุ่มกล้วย
                วันศุกร์        กลุ่มน้ำ

การประยุกต์ใช้

                นำแผนที่เราเขียนที่จะสอนประจำวันของตัวเองมาสอนในอนาคตได้และสามารถประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆในการเขียนแผนได้

ประเมินอาจารย์ 

                 อาจารย์อธิบายวิธีการสอนของแต่ละวันอย่างละเอียด 

ประเมินเพื่อน 

                เพื่อนทุกคนตั้งใจเขียนแผนคนที่เข้าใจแล้วก็มาช่วยบอกเพื่อนให้เข้าใจ

ประเมินตนเอง 

                ถามเพื่อนในส่วนที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆของการสอน



               

การบันทึกครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.


ในสัปดาห์นี้นักศึกษากลุ่ม 102 อังคารบ่ายได้ไปทำกิจกรรมต้อนรับคณะผู้มาเยี่ยมชมงานคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย 


การบันทึกครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 1 พฤษจิกายน 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ 
             อาจารย์ได้ให้กลุ่มทำวีดีโอของเล่นวิทยาศาสตร์ให้เอาคลิปที่แต่ละกลุ่มทำมาเปิดให้ดู มีทั้งหมด  4 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 พลังปริศนา
https://www.youtube.com/watch?v=Go9zrFhikS8

กลุ่มที่ 2 ขวดปริศนา
https://www.youtube.com/watch?v=7jU51MATe8g

กลุ่มที่ 3 รถแกนหลอดด้าย
https://www.youtube.com/watch?v=QwkwdmlMres

กลุ่มที่ 4  ลูกข่างนักสือบ
https://www.youtube.com/watch?v=8iXxHIRi72I&t=52s


        สิ่งที่ต้องปรับปรุงในคลิปวีดีโอ - ใส่ตัวหนังสือ ตัวเลข ขั้นตอนการทำ
หลังจากนั้นอาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่มตามกลุ่มที่จับทำมายแมบ และส่วนหน่วยการเรียนรู้วิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสต์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ศิลปะ สังคม สุขศึกษา(พละศึกษา)อาจารย์ได้ยกตัวอย่างและอธิบายให้ฟังและให้พวกเราลงมือเขียนมายแมบ







การประยุกต์ใช้

            สามารถนำหน่วยที่เราสนใจไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยขน์ต่อวิชาต่างๆได้ 
ในส่วนของวีดีโอสามารถนำเอาไปสอนในห้องเรียนได้

ประเมินอาจารย์

            อาจารย์บอกข้อปกพร่องในการทำคลิปวีดีโอว่าควรปรับปรุงแก้ไขตรงไหน ในส่วนของมายแมบอาจารย์ได้ยกตัวอย่างได้ละเอียด

ประเมินเพื่อน 

            เพื่อนแต่ละกลุ่มตั้งใจทำงาน ช่วยกันระดมความคิดในงานของกลุ่มตัวเอง

ประเมินตนเอง

              ช่วยเพื่อนคิดและเสนอสื่งที่เราคิดให้กับเพื่อน ฟังและจดบันทึกที่อาจารย์บอก

                              

การบันทึกครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
                     อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมาเสนอมายแมบที่ให้เอากลับไปแก้ไขให้ถูกต้อง
   
              กลุ่มที่ 1 ส้ม

             กลุ่มที่ 2 ไก่


            กลุ่มที่ 3 ข้าว


              กลุ่มที่ 4 กล้วย


             กลุ่มที่ 5 น้ำ


              กลุ่มที่ 6 นม


               หลังจากนั้นเป็นการเรียน 8 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์เพื่อดูว่าหน่วยของแต่ละกลุ่มนั้นสามารถนำสาระทั้ง8 มาประยุกต์ใช้ได้หรือไม่แต่สามารถเลือกมาใช้เพียงบางกลุ่มได้ไม่ต้องนำมาใช้ทั้งหมด


การประยุกต์ใช้

               นำมาเขียนมายแมบเพื่อนำไปสอนเด็กในแต่ละวันได้ หลักการการเขียนที่ถูกต้องและเราจะนำไปสอนอย่างไรให้ตรงกับสาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

ประเมินอาจารย์ 

               อาจารย์แนะนำมายแมบที่ต้องเขียนให้ถูกวิธีสอนสาระวิทยาศาสตร์อธิบายให้เข้าใจ

ประเมินเพื่อน

              เพื่อนทุกคนตั้งใจฟัง และคอยจดบันทึกข้อแนะนำต่างๆที่อาจารย์บอก

ประเมินตนเอง

              จดบันทึกข้อเสนอแนะที่อาจารย์บอกและปรึกษากับเพื่อนในกลุ่ม

การบันทึกครั้งที่ 11
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

                   ต้นคาบอาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนอของเล่นงานกลุ่ม เช่น
                     - นาฬิกาทราย                              - วงโคจรของโลก
                     - ลวดเต้นระบำ                             - ทวินเพลน
                     - กล่องสุริยจักรวาล                      - โรงละคนผีเสื้อเริงระบำ
                     - รางหรรษา                                  -  ไข่หรรษา
                     - ภาพใต้น้ำ




หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คนทำมายแมบปิ้งสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กมีหัวข้อดังนี้
               1.ประเภท แบ่งเกณฑ์ ชนิด บอกชื่อ
               2.ลักษณะ เช่น สี กลิ่น รส  รูปร่าง ลักษณะ ส่วนประกอบ
               3.การดูแลรักษา  การถนอม   การดำรงชีวิต
               4.ประโยชน์ เช่น สร้างรายได้  สร้างอาชีพ
               5.ข้อควรระวัง  โทษ

แบ่งกลุ่มได้ทั้งหมด 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีหัวข้อดังนี้
          - กล้วย
          - น้ำ
          - ส้ม 
          - นม
          - ไข่
          - ขาว




 หลังจากนั้นอาจารย์ได้สรุปการเขียนมายแมบให้ว่าถูกต้องตามหลักหรือไม่




การประยุกต์ใช้

             เป็นการหาหน่วยไปสอนเด็กแต่ต้องเลือกตามสิ่งที่เด็กต้องการจะศึกษาเป็นการบูรณาการที่ต้องเชื่อมโยงและสอดคล้องกับหน่วยที่เลือกมา

 ประเมินอาจารย์ 

                      อาจารย์จะแนะนำการเขียนมายแมบที่ถูกต้องว่าต้องวนจากขวามาซ้าย และอาจารย์จะดูเนื้อหาว่าถูกต้องหรือไม่

ประเมินเพื่อน

                  เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ช่วยกันทำมายแมบอย่างเต็มที่ 

ประเมินตนเอง

                 วันนี้ตั้งใจเรียน ช่วยเพื่อนคิดเนื้อหาให้สอดคล้องกับหัวข้อที่อาจารย์ให้มา 

การบันทึกครั้งที่ 10
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

  ตอนต้นคาบอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำลำดับขั้นตอน STEM


  หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มเลือกของเล่นที่เราเคยทำมากลุ่มละ 1 อย่าง แต่ของเล่นต้องทำได้ง่ายเด็กสามารถทำตามได้ และถ่ายเป็นวีดีโอเพื่อเป็นสื่อการสอนลงในยูทูป


 


ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำ "ลูกข่างนักสืบ"
          เป็นการทำลุกข่างจากแผ่นซีดีและลูกปิงปอง
จากนั้นอาจารย์ได้ให้ออกไปนำเสนองาน

 

กลุ่มที่ 1 ลูกข่างนักสืบ


กลุมที่ 2 ปืนลม


กลุ่มที่ 3 แผ่นซีดีเป่าลอย


กลุ่มที่ 4 รถหลอดด้าย

การประยุกต์ใช้

              สามารถนำสื่อชองเล่นที่เราถ่ายเป็นวีดีโอนำไปเปิดเป็นตัวอย่างในการสอนเด็กได้และของเล่นของกลุ่มดิฉันทำให้เด็กรู้จักแสงสีขาว  รู้วิธีการทำ

ประเมินอาจารย์

             อาจารย์จะคอยแนะนำส่วนที่เราบกพร่อง แนะนำเคล็ดลับในการนำไปสอนเด็ก 

ประเมินเพื่อน

             เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนองานได้ดี คอยจดเมื่ออาจารย์แนะนำว่าควรแก้ไขตรงไหน

ประเมินตนเอง

            มีช่วยเพื่อนคิดและคอยจดเมื่ออาจารย์แนะนำให้ทำอะไรเพิ่มเติมบ้าง


การบันทึกครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2559 
เวลาเรียน  13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

             วันนี้ได้มีการทำ cooking ทาโกะยากิไข่ข้าวโดยมีพี่ๆปี 5 มาเป็นผู้สอน

             
  ขั้นนำ (ร้องเพลง)
                  1.ครูจะร้องเพลงให้เด็กฟังก่อน เพลงอาหารดี
                  2.ครูจะให้เด็กร้องตามทีละวรรค
                  3.ให้เด็กร้องเพลงไปพร้อมกัน
             ใช้คำถามบททวนเนื้อหา
              - ครูจะถามเด็กๆว่าในเพลงนี้มีอาหารดีมีประโยชน์อะไรบ้าง
              - นอกจากในเพลงนี้ยังมีอาหารดีอะไรอีกที่เด็กรู้จัก
                     
เพลง อาหารดี 
อาหารดี   นั้นมีประโยชน์
คือผักสด เนื้อหมู ปู ปลา
เป็ด ไก่ ไข่ นม ผลไม้นานา
ล้วนมีคุณค่า ต่อร่างกายเรา

เพลง มือ 
มือ มือ มือ มือ    มือของฉัน
วางมันไว้บนไหล่   มือน้อยน่ารัก
วางบนไหล่ฉันนี่   มือ มือ มือ มือ
มือของฉันวางมันไว้บนตัก
มือน้อยน่ารัก   วางบนตักฉันเอง

 ขั้นเสริมประสบการณ์
    - แนะนำวัตถุดิบและอุปกรณ์
วัตถุดิบ
อุปกรณ์
       1.     ไข่ไก่     30    ฟอง               
       2.     ปูอัด     1     ถ้วยตวง
       3.     ข้าว   1    โถ
       4.    แครอท   1    หัว
       5.     หอมหัวใหญ่    1  หัว
       6.     มะเขือเทศ      1   ลูก
       7.     เครื่องปรุง
       8.     มาการีน 1  กระปุก
       9.     มายองเนส   1   ขวด
       1.     มีด   2   ด้าม
       2.     เขียง    1     อัน
       3.     จาน    5   ใบ
       4.    เตาทาโกะ 
       5.      ช้อน  5  คัน
- ในส่วนแนะนำอุปกรณ์ให้ถามเด็กด้วยว่ารู้จักหรือไม่ถ้าไม่รู้จักให้เด็กพูดตามเรา
 - หลังจากแนะนำอุปกรณ์แล้วให้ครูหั่นให้เด็กดูก่อนแล้วค่อยหาตัวแทนเด็กขึ้นมาหั่นและทุกกิจกรรมเด็กต้องมีส่วนร่วม

วิธีการทำทาโกะยากิไข่ข้าว
 1.ใส่แครอท 2 ช้อน มะเขือเทศ 2 ช้อน หอมหัวใหญ่ 2 ช้อน  ปูอัด 1 ช้อน ข้าว 2 ช้อน
 2. ใส่ไข่ 1 ฟอง ลงไปในถ้วยและก็ตีให้เข้ากัน แล้วใส่น้ำปลาเล็กน้อย *ห้ามใส่ผงชูรส รสดี หรือสารปรุงแต่งที่ไม่มีประโยชน์
 3.เปิดเครื่องทาโกะยากิแล้วใส่มาการีนลงไปรอให้ละลาย
 4.เมื่อมาการีนละลายก็ใส่ส่วนผสมที่เราผสมไว้ลงไปในกระทะให้เต็มหลุม เมื่อไข่เริ่มสุขให้ใช้ไม้เขี่ยให้เป็นลูกกลมๆ
 5.เมื่อสุกตักขึ้นมาใส่จานราดด้วยมายองเนส 

   และการทำ cooking จะมีทั้งหมด 4 ฐาน คือ
       ฐานที่ 1 วาดวัตถุดิบและอุปกรณ์


      ฐานที่ 2 เตรียมวัตถุดิบอุปกรณ์



      ฐานที่ 3  รวมส่วนผสม



     ฐานที่ 4 ทำทาโกะยากิ



     * ทุกฐานจะมีครูคอยดูแลและเด็กทุกคนจะต้องได้ทำทุกฐาน
เมื่อทำกิจกรรมเสร็จครูก็จะมาสรุปกิจกรรมว่าเด็กๆได้อะไรจากกิจกรรมนี้ และมีประโยชน์อะไรบ้าง

การประยุกต์ใช้ 

              สามารถนำไปประยุกต์กับวิชาอื่นๆได้เช่น วิชาวิทยาศาสตร์  การตั้งสมมุติฐาน การเปลี่ยนแปลงของสีไข่เมื่อสุข วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอัตตราส่วนต่าง นำเพลงมาประยุกต์สอนวิชาต่างๆได้

ประเมินผู็สอน

           - อาจารย์เข้ามาแนะนำต่อจากที่พี่ได้สอนไว้ว่าส่วนของวัตถุดิบต้องบอกปริมาณด้วย
           - พี่ปี 5 ทุกคนอธิบายวิธีการทำอย่างละเอียดพี่ๆทุกฐานทำคอยอธิบายแต่ละฐานเป็นอย่างดีว่าในแต่ละฐานต้องให้เด็กทำอะไรบ้าง

ประเมินเพื่อน

           เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดีให้ความร่วมมือตลอด เพื่อนทำกิจกรรมแต่ละฐานอย่างเป็นระเบียบ 

ประเมินตนเอง

            วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมแต่ละฐาน เมื่อพี่สอนก็จดขั้นตอนการทำ ตั้งแต่ขั้นนำจนถึงขั้นสรุป และร่วมมือกับพี่เป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 27 กันยายน 2559
เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น

สอบกลางภาค

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7
อังคารที่ 20 กันยายน 2559
เวลา 13.30 - 17.30 น

ความรู้ที่ได้รับ


    ในต้นคาบอาจารย์ได้ให้คัดลายมือ ก-ฮ แบบหัวกลมตัวเหลี่ยม


หลังจากที่คัดเสร็จแล้วอาจารย์ให้ออกไปเอากระดาษA4 และปากกาเมจิก เพื่อเอามาว่ารูปมือของเรา
หลังจากวาดเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้ขีดเส้นตัดกับรูปมือที่วาดไว้ หลังจากตัดเส้นแรกเสร็จแล้วให้เอาอีกสีมาตัดเส้นแบบเดิมอีกแต่ขีดให้ใกล้ๆกัน


   ที่อาจารย์ให้ทำแบบนี้เพราะจะทำให้รูปมือที่เราวาดดูมีมิติดูนูนออกมา
หลังจากนั้นอาจารย์ได้เอาตัวอย่างของเล่นมาให้ดู

                         

เมื่อหมุนเราจะเห็นสองรูปนี้รวมกัน

                         

เมื่อหมุนอันนี้เร็วๆแล้วรูปสองอันนี้จะรวมกันเป็นธงชาติของเกาหลี
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ออกมานำเสนอของเล่นอีกครั้ง แต่คราวนี้เป็นการสรุปของเล่นในเรื่องต่างๆ
 - แรงหนีศูนย์กลางและมีเรื่องแรงพยุง
 - จุดศุนย์ถ่วง
 - ความหนาแน่น
 - แรงยืดหยุ่น
 - อากาศมีแรงดันทำให้วัตุเคลื่อนที่ อากาศมีแรงดันเมื่อเป่า
 - การเดินทางของเสียงเกิดจากแรงเสียดสีทำให้เกิดการสะท้อน พอวัตถุกระทบกันแล้วเกิดการสั่นสะเทือน
 - การดีด
จากนั้นอาจารย์ได้ทำการทดลองให้ดูโดยขอตัวแทน2คนมาช่วยอาจารย์ 
การทดลองที่ 1


ในการทดลองครั้งนี้อาจารย์ให้ดูระดับน้ำในสายยางว่าเท่ากันหรือไม่ถ้ายกข้างใดข้างหนึ่งสูงกว่าสรุปแล้วน้ำในสายยางเมื่อยกข้างนึกสูงกว่าระดับน้ำในสายยางก้จะเท่ากันเพราะน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู้ที่ต่ำเพื่อให้เกิดความสมดุล
 การทดลองที่ 2 น้ำพุ น้ำจะไหลจากที่สูงมายังที่ต่ำ เมือเราเอาตัวฐานน้ำพุลงมาว่าไว้ต่ำเท่าไร น้ำก็จะยิ่งพุงแรงมากขึ้น

                             

การทดลองที่ 3 ดอกไม้ลอยน้ำ
 อาจารย์ให้นำกระดาษ A4 ตัดแบ่งเป็น4ส่วนและแบ่งให้เพื่อน หลังจากนั้นให้และตัดเป็นรูปดอกไม้แล้วเอาสีมาระบายตรงกลางและก็พับดอก4ด้านเข้าหากัน หลังจากนั้นอาจารย์ให้น้ำดอกไม้ที่เราทำไปลอยน้ำและให้สังเกตว่ามีผลอย่างไร
เมื่อเอาไปลอยน้ำดอกไม้ที่เราพับไว้ก็จะค่อยๆบานออกเพราะเมื่อกระดาษถูกน้ำ น้ำเข้าไปแซกตัวอยู่ในกระดาษจนกระดาษจม เมื่อเราหยิบขึ้นมาเราก็จะเห็นมาสีจะไหลไปตามน้ำ
หลังจากนั้นอาจารย์ให้ออกไปพูดถึงงานกลุ่มว่าเราจะทำของเล่นอะไร

การประยุกต์ใช้

- เราสามารถนนำการวาดมือให้ดูมีมิติไปสอนเด็กเพื่อให้เด็กมีความสนใจมากขึ้น สามารถนำการทดลองต่างๆไปใช้ในการสอนในอนาคตเมื่อเด็กได้ลงมือปฎิบัติเด็กก็จะเกิดการเรียนรู้มากขึ้นและเด็กก็จะสนุกไปกับการทดลอง

ประเมินผู้สอน

 - อาจารย์มีตัวอย่างผลงานคอยเอามาให้ดูเสมอ และอาจารย์ยังคอยหากิจกรรมใหม่ๆมาให้เราได้เรียนรู้เรื่อยๆ

ประเมินตนเอง

 - วันนี้ตั้งใจเรียน มีงานมาส่งอาจารย์ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์จัดให้

ประเมินเพื่อน

 - เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับอาจารย์เป็นอย่างดีทุกคนตั้งใจเรียนเตรียมของมานำเสนอกันทุกคน